jutamad

This WordPress.com site is the cat’s pajamas

รถตุ๊กตุ๊ก

ปี พ.ศ. 2500 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจำหน่ายรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ (Daihatsu) รุ่นมิดเจ็ท ดีเค (Midget DK) เป็นรถสองจังหวะ (ZA 250cc) มีไฟหน้าหนึ่งดวง และมีที่จับบังคับเหมือนรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรถตุ๊กตุ๊กของไทย

ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เป็นจำนวน 30 คัน บรรทุกมาทางเรือขึ้นที่ท่าเรือคลองเตย และนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช โดยคนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า “สามล้อเครื่อง” ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นมิดเจ็ท เอ็มพี 4 (Midget MP4) ซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ที่เพิ่มส่วนประตูสองข้าง โดยได้ทำการขยายการจำหน่ายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสองจังหวัด และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา

ในประเทศไทยยุคแรก รถตุ๊กตุ๊กที่มีใช้คือยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ซึ่งตกอยู่ราวคันละ เกือบ 2 หมื่นบาท (ปัจจุบันราคาถึงหลักแสน ปัจจุบันเหลือเพียง ไดฮัทสุ) สมัยก่อนรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้าน แต่เปลี่ยนมาขึ้นลงทางเดียวเพื่อความปลอดภัย

วิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ จนปี พ.ศ. 2508 ทางราชการเตรียมยกเลิกรถตุ๊กตุ๊กเนื่องจากเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร

ปี พ.ศ. 2515 ประเทศญี่ปุ่นเลิกผลิตรถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเค ทำให้อะไหล่ของรถรุ่นนี้ขาดตลาด ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าของรถเป็นอย่างมาก ทำให้อู่รถต่างๆเริ่มผลิตอะไหล่ทดแทนเอง และหลังจากนั้นคุณจำรัส โวอ่อนศรีได้ตั้งโรงงานผลิตอะไหล่รถตุ๊ก ตุ๊ก แห่งแรกที่ริมทางรถไฟสายเก่า คลองเตย ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อว่า วัฒน์การช่าง ต่อมาใช้ชื้อว่า บริษัท วัฒน์ อุตสาหกรรมจำกัด ทำการเปลี่ยนป้ายชื่อยี่ห้อรถรุ่นต่างๆท้ายรถตุ๊กตุ๊กเป็นคำว่า “THAILAND” และยังคงอยู่จวบจนปัจจุบัน หลังจากนั้นอนันต์ สุภัทรวนิชย์ซึ่งประกอบอาชีพขายน้ำมันเครื่องให้กับอู่ ตุ๊ก ตุ๊ก ต่างๆในกรุงเทพฯ เห็นโอกาสในตลาดจึงเปิดโรงงานขึ้นโดยใช้ชื่อพลสิทธิ์ตุ๊ก ตุ๊ก ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Tuk Tuk Forwarder

ปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้รถบรรทุกสามล้อ หรือสามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการขนส่งโดยสารจะต้องทำการจดทะเบียนขอรับใบอนุญาต “รถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสาร” โดยต้องผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้ต้นสังกัดในรูปของบริษัทเสียก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตนี้ได้ และจะสามารถวิ่งให้บริการได้เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น

ปี พ.ศ. 2530 รถตุ๊กตุ๊กถูกจำกัดจำนวน ทางราชการออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ และยังถือเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย

ปี พ.ศ. 2552 Daniel Snaider และ Susie Bemsel คู่รักชาวเยอรมนี ได้ทำลายสถิติโลก (Guinness World Record 2009) สร้างชื่อเสียงให้กับรถตุ๊ก ตุ๊กไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถตุ๊กตุ๊กจากบริษัทเอกซ์เพอร์ทีสจำกัด ด้วยสถิติระยะทางที่ไกลที่สุดในโลก เริ่มเดินทางจากไทยไปกัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น รัสเซีย มองโกเลีย ตุรกี อียิปต์ อิตาลี่ ฝรั่งเศส และกลับไปสิ้นสุดที่ประเทศเยอรมนี

.ประวัติความเป็นมาของรถตุ๊กตุ๊ก

รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกทางราชการว่า “รถสามล้อเครื่อง” ที่เราทุกคนรู้จักคุ้นเคยกันดี เริ่มเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกราวๆ ปี 2503 โดยนำเข้ามาจากหลายประเทศด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ยุคแรกๆ มีทั้งยี่ห้อไดฮัทสุ ฮีโน่ มาสด้า มิตซูบิชิ ราคาตกคันละประมาณเกือบ 2 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันราคาขยับขึ้นไปถึงหลักแสนแล้ว และเหลือเพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้น คือ ไดฮัทสุในยุคแรกๆ ของรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง 2 ด้านแต่ต่อมาเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเลยกำหนดให้ปิดทางขึ้นลงด้านขวาของตัวรถ เหลือทางขึ้นลงเพียงด้านเดียว กว่าจะมาเป็นรถตุ๊กตุ๊กได้อย่างทุกวันนี้ มีวิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่น เข้ามาดัดแปลง โดยเอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้ แต่พอช่วงปี 2508 รถตุ๊กตุ๊กก็เกือบจะต้องอันตรธานหายไปจากเมืองไทย เพราะทางราชการเตรียมจะยุบเลิก โดยเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร แต่สุดท้ายก็ต่อสู้ยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลาถึง 40 กว่าปีมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน รถตุ๊กตุ๊กยังถือเป็นรถที่ต้องถูกจำกัดจำนวน โดยปี 2530 ทางราชการก็ออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้
ทำให้ปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในกรุงเทพฯ รวมกันประมาณ 7,405 คัน
เท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากคนไทยจะเริ่มประกอบรถตุ๊กตุ๊กใช้ในประเทศได้เองแล้ว ยังผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท แถมยังกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย นี่เองเลยกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก “ตุ๊กตุ๊ก” เพราะเดิมทีชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทยไม่รู้จะเรียกรถสามล้อเครื่องว่าอะไร เลยอาศัยเรียกชื่อตามเสียงท่อไอเสียของรถ กลายเป็นชื่อ “รถตุ๊กตุ๊ก” ติดปากมาถึงวันนี้ ไหนๆ ก็เล่าเรื่องตุ๊กตุ๊กมาตั้งนานแล้ว มีของแถมเรื่อง “รถสามล้อถีบ” หรือ “สามล้อปั่น” ให้ด้วย รถสามล้อ ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยประมาณปี 2476 ที่จ.นครราชสีมา โดยน.อ.เลื่อน พงษ์โสภณ ได้นำ “รถลาก” หรือ “รถเจ๊ก” มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ทำให้แล่นได้เร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า และยังปลอดภัยเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯในสมัยนั้น ทั้งรถพลังเงียบและพลังตุ๊กตุ๊กจึงผูกพันกับสังคมไทยมานาน การถือกำเนิดของรถสามล้อ ไล่เริ่มจากเมื่อแรกเกิดสามล้อนั่นเลย พ.ศ.2476 “รถสามล้อ” ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา โดย นาวาอากาศเลื่อน พงษ์โสภณ นำรถลาก หรือรถเจ็ก มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้รับผู้โดยสารแพร่หลายไปทั่วประเทศ ต่อมามีผู้นำจักรยานมาเพิ่มล้อและกระบะพ่วงเข้าที่ด้านข้าง ติดตั้งเก้าอี้หวายยึดแน่นกับกระบะ ออกวิ่งรับจ้าง นับเป็นต้นแบบของ “สามล้อพ่วงข้าง” ซึ่งปัจจุบันยังใช้อยู่ในจังหวัดภาคใต้เพื่อทุ่นแรงและสามารถรับส่งผู้โดยสารได้ในระยะที่ไกลขึ้น นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ดัดแปลงนำเครื่องจักรยานยนต์มาติดกับรถสามล้อแบบที่ใช้คนถีบ ได้รับความนิยมแพร่หลาย เพราะนอกจากไปได้ในระยะทางไกลกว่าแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นส่วนสำคัญ ทุกวันนี้ “สามล้อเครื่อง” ยังเกลื่อนเมือง ตามด้วย “ซาเล้ง” หรือสามล้อแดง ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ส่งสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก ระยะทางไม่ไกลนัก เป็นสามล้อใช้แรงถีบ ผู้ขับขี่อยู่ด้านหลังกระบะบรรทุกแล้วก็ถึงเวลาของ “รถตุ๊กตุ๊ก” กำเนิดจากการนำสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดยสาร เมื่อ พ.ศ.2503 เพื่อทดแทนรถสามล้อถีบซึ่งถูกห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพฯ ทุกวันนี้เราผลิตได้เองแล้ว และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม “TUK-TUK” สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัดและเป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่งของทัวริสต์รถตุ๊กตุ๊กสองแถว” วิวัฒนาการมาจากตุ๊กตุ๊กธรรมดา ดัดแปลงเบาะนั่งด้านหลังเป็นที่นั่งสองแถวเพื่อรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก พบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนอย่างท่ารถโดยสาร ท่าเรือข้ามฟาก ตลาดสด และด้วยฝีมือไทยประดิษฐ์ ได้มีการนำรถตุ๊กตุ๊กธรรมดามาดัดแปลงประดับตกแต่งสวยงามทั้งตัวถัง วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระบังหน้า เครื่องยนต์เปลี่ยนจาก 2 เป็น 4 จังหวะ จากตุ๊กตุ๊กธรรมดาก็กลายเป็น “ตุ๊กตุ๊กเดอลุกซ์” บริการในจังหวัดภาคตะวันออกเมื่อครั้งสถานีอวกาศ “สกายแล็บ” เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก คนไทยร่วมฮิตด้วยการประดิษฐ์สามล้อและเรียกชื่อตามสมัยนิยมว่า “สามล้อสกายแล็บ” โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ จ.อุดรธานี ก่อนแพร่ไปจังหวัดต่างๆ ทั่วอีสาน เป็นสามล้อที่ใช้กำล้งเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโดยสารตอนหลังเป็นสองแถว จุดเด่นคือสีสันสดใส และช่วงหน้าเชิดสูงเมื่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างถือกำเนิดและแพร่หลายไปทุกท้องถิ่น ก็มีแนวคิดว่าทำอย่างไรจึงจะรับผู้โดยสารได้ครั้งละหลายๆ คน รถสามล้อแบบมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างจึงถูกประดิษฐ์ขึ้น เมื่อไม่ออกรับจ้างผู้โดยสารก็สามารถถอดเฉพาะตัวรถขับขี่ไปทำธุรกิจได้ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์เรียกสามล้อแบบนี้ว่า “ไก่นา

2.รถตุ๊กตุ๊กหัวกบในจังหวัดตรัง

หัวกบรุ่นดั้งเดิม ถูกส่งลงเรือจากญี่ปุ่น แล้วมาต่อรถไฟ ไปเมืองตรัง ลักษณะตัว รถจะเป็นกระบะสามล้อขนาดเล็กไม่มีหลังคา ครอบด้านหลังต่อมาช่างไทยได้ปรับแต่ง เพิ่มหลังคาเข้าไปเพื่อกันร้อน กันฝนให้ผู้โดยสาร หลายคนสงสัยทำไมคนตรังต้องใช้ ้รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ เฉลย….เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ในเขตเมืองตรั งส่วนใหญ่ เป็นลอนลูกฟูก หรือที่คนพื้นถิ่นเรียกว่า “ควน” แปลว่าเนิน การใช้รถสามล้อเครื่องทุ่น แรง จึงมีความเหมาะสมและสะดวก สามารถซอกซอน ไปตามซอกซอยคับแคบได้โดย ง่ายดาย
       ปัจจุบันในตัวเมืองตรัง ยังเหลือ รถตุ๊กตุ๊กหัวกบให้เห็นได้กว่า 300 คัน โดยมีการ รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นชมรมสามล้อเครื่อง เพื่ออนุรักษ์รถตุ๊กตุ๊กหน้าตาประหลาดให้อยู่ คู่เมือง ตรังต่อไป จึงไม่น่าแปลกใจหากจะเห็นนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนตรังส่วนใหญ่โดย เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมักจะไม่พลาดโปรแกรมนั่งรถตุ๊กตุ๊กหัวกบตระเวนรอบเมืองสนนค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท แล้วแต่ระยะทาง หรืออาจเหมาเป็นวันก็ได้ ลองไปสัมผัสดูแล้วจะรู้ว่าได้ขี่ “กบซิ่ง”มันตื่นเต้นขนาดไหนรถตุ๊กตุ๊กหัวกบย้อนกลับไปเมื่อปี 2502สมัยจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรีเมืองไทยเริ่มนำเข้ารถตุ๊กตุ๊กหัวกบจากญี่ปุ่นมาใช้เครั้งแรก เจ้ารถตุ๊ก ตุ๊กหัวกบ ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นคันนี้ก็คือ รถ Daihatsu Midget นั่นเองครับ ตุ๊กตุ๊กแดนปลาดิบ แตกต่างจากตุ๊กตุ๊กไทยตรงที่ตุ๊กตุ๊กไทยจะมีคันบังคั บแบบก้านจับสองข้างเหมือนแฮนด์ มอเตอร์ไซค์ คนขับจะนั่งหน้า ส่วนผู้โดยสารนั่งได้ด้านหลังเท่านั้น ส่วนตุ๊กตุ๊กสัญชาติ อาทิตย์อุทัย จะมีคันบังคับเป็นพวงมาลัยเหมือนรถยนต์ทั่วไป แถมผู้โดยสารสามารถ เลือกนั่งเต๊ะจุ๊ยคู่คนขับ หรือจะนั่งตอนหลังก็ได้ตามใจชอบ แต่ที่ไม่ แตกต่างกันคือเสียง กัมปนาทแปดหลอดที่ดังแผดก้องถนนแบบก้านจับแบบรถมอเตอร์ไซด์ รุ่นต่อมา (MP4-5) ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบพวงมาลัย แบบเดียวกับรถสี่ล้อ รุ่น MP4 และ MP5 เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นแบบ
สองจังหวะ 305 cc. ระบายความร้อนด้วยอากาศ มีกำลัง 12 แรงม้า มี 3 เกียร์ น้ำหนักบรรทุกประมาณ 350 Kg.ตุ๊ก ตุ๊ก หัวกบ ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นรุ่นแรกที่นำเข้ามาใช้งานในจังหวัดตรังคือ รุ่น MP4 มีจำนวนไม่มากนัก นับเป็นรุ่นหายาก ต่อมาคือรุ่น MP5 ซึ่งมีจำนวนมากและใช้กันมาถึงปัจจุบัน ส่วนแตกต่างระหว่าง MP4 และ MP5 ซึ่งเป็นรุ่น Minor Change ที่สังเกตได้ง่ายๆคือ ช่องระบายอากาศที่อยู่ใต้ไฟหน้าของ MP5 จะมีขนาดใหญ่กว่า MP4 รถทั้ง 2 รุ่นนี้ยังคงมีการอนุรักษ์และใช้งาน

3.รถตุ๊กตุ๊กในต่างประเทศ

                        3.1      ประเทศลาว        3.2ประเทศสหรัฐอเมริกา    3.3ประเทศลาว            3.4ประเทศพม่า                                                                                                 

4.ที่มาของชื่อ”ตุ๊กตุ๊ก
       นี่เองเลยกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก “ตุ๊กตุ๊ก” เพราะเดิมทีชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองตรังไม่รู้จะเรียกรถสามล้อเครื่องว่าอะไร เลยอาศัยเรียกชื่อตามเสียงท่อไอเสียของรถ กลายเป็นชื่อ “รถตุ๊กตุ๊ก” ติดปากมาถึงวันนี้ รถตุ๊กตุ๊กยังส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตรังเพราะนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติที่มาเมืองตรังก็ต้องนั่งรถตุ๊กตุ๊กไม่นั้นมาไม่ถึงจึงกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองตรังด้วยเหตุนี้รถตุ๊กตุ๊กในเมืองตรังเหลือน้อยเพราะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก


ใส่ความเห็น